วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ภาพกิจกรรมในอดีตของลุงบุญชวน

เนื่องจากบล๊อกเก่าถูกลบทั้งหมดทำให้ต้องมาเริ่มบันทึกใหม่ บางเรื่องบางกิจกรรมลุงชวนได้ปรับเปลี่ยนไปบ้างแล้วอย่างเช่นการเลี้ยงวัว ก็ปรับไปเป็นควายทั้งหมด จึงขอเสนอเป็นภาพรวมกิจกรรมในอดีตที่ผ่านมาเป็นเกล็ดความรู้ตามสมควรแทนไปก่อนครับ
ที่ศุนย์เรียนรู้ของลุงบุญชวน มะลัยโย มีการอบรมทุกปี ตั้งแต่ปี 2551มาจนปัจจุบัน มีการปรับลดงบประมาณทุกปี  จากปีละ 90 คน เหลือ 60 คน 30 คน จนปีนี้อบรม 20 คน ก็ไม่รู้ว่าประสบความสำเร็จอย่างไร ที่ได้เห็นคือมีบางรายมาอบรมแล้วทำเรียนแบบลุงบุญชวน ตอนนี้ก็กลายเป็นศูนย์เรียนรู้แบบเดียวกับลุงบุญชวน แต่ก็มีหลายรายยังเหมือนเดิมรับจ้างมาอบรมหรือปล่าวไม่รู้ ที่พอจะอวดอ้างได้บ้างคือการเกิดกลุ่มปศุสัตว์อินทรีย์ของตำบลดงมหาวัน ขึ้นจากกการชักนำของลุงบุญชวนถือได้ว่าเป็นผลงานของการอบรมที่ผ่านมา 
 เนื้อหาการอบรมเน้นในเรื่องการเกษตรแบบผสมผสานโดยมีปศุสัตว์นำเพราะว่างบประมาณมาจากกรมปศุสัตว์ หัวข้อการอบรมจึงเป็นด้านปศุสัตว์ทั้งหมดแล้วมีการเกษตรอื่นๆเสริม ที่ขาดไม่ได้คือการสอนปรับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับชีวิต และการทำบันทึกบัญชีฟาร์ม บัญชีครัวเรือน การสร้างกลุ่มเลี้ยงสัตว์
นอกจากงบประมาณของกรมปสุสัตว์แล้ว ก็มีของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดที่ผันงบประมาณมาให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรจัดการอบรม เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ด้วย








วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

ผลงานของนายบุญชวน มะลัยโย เกษตรกรดีเด่นสาขาการเลี้ยงสัตว์ปี ๒๕๕๑ ปศุสัตว์เขต ๕


นายบุญชวน…มะลัยโย .เกษตรกรดีเด่นแห่งบ้านปงปน ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้งจังหวัดเชียงราย ที่ในวัยเด็กที่ย้ายตามครอบครัวจากภาคอีสานมาตั้งรกรากที่จังหวัดเชียงราย ได้บวชเรียนและมีโอกาส ออกแสดงกลองยาวตามคณะของหมู่บ้านทำให้มีความกล้าแสดงออก มีมุษยสัมพันธ์ดี เข้าได้กับทุกๆคน ขยันไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคเป็นผู้ไฝ่รู้ทำให้มีความสามารถหลายด้านนอกจากการเกษตร ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ การค้าขาย การตลาดการบัญชี ประสบการณืมากมาย  และเมื่อมีโอกาสเข้าอบรมเกษตรทฤษฎีใหม่และปรัญชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็ได้ ปวารณาตัวเองว่าจะทำตัวให้เป็นแบบอย่างในเรืองการปฏิบัติเกษตรพอพียงตามแนวพระราชดำริ จนหลายๆหน่วยงานราชการให้การสนับสนุนให้เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย   
นายบุญชวน มะลัยโย ปัจจุบันอายุ 54 ปี จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ ….6 จากการศึกษานอกโรงเรียน .สมรสนางชา มะลัยโย มีบุตร-ธิดารวม คน มีครอบครัว และมีงานทำทั้ง ๔ คน อยู่บ้านเลขที่ 91หมู่ที่ 10 ตำบล ดงมหาวัน  อำเภอ เวียงเชียงรุ้ง  จังหวัด เชียงราย โทรศัพท์0-8611-72903


นายบุญชวนกับรางวัลเกษตรกรดีเด่นสาขาการเลี้ยงสัตว์ระดับ สสอ.๕ และรางวัลชมเชยระดับประเทศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายนายสมชัย หทยะตัยติ พาหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดเยี่ยมสวนของนายบุญชวน มะลัยโย และประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้เกษตรกรมาดูตัวอย่างให้มากๆ
ผลงานดีเด่น รวม ๕ กิจกรรม
๑.กิจกรรมความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรค
การเลี้ยงโคและกระบือ เริ่มเลี้ยงโคเนื้อรับจ้างก่อน แล้วเข้าอบรมเป็นอาสาปศุสัตว์ จนประสบความสำเร็จเลี้ยงโคเพิ่มจำนวนมาก จึงแยกมาเลี้ยงเอง เป็นแกนนำในการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านปงปน ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เมื่อ ปี ๒๕๓๕ และได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อดีเด่นระดับเขต ปี ๒๕๓๗ ในระดับเขต ปัจจุบันแม้สมาชิกกลุ่มเลิกเลี้ยงโคไปประกอบอาชีพอื่นหลายรายเนื่องจากราคาโคถูกลงขายไม่ได้ราคา และบริเวณทุ่งหญ้าที่เลี้ยงลดลงจากการขยายพื้นที่ปลูกพืช แต่นายบุญชวนยังมุ่งมั่น มีความตั้งใจเลี้ยงโคเนื้อแบบประณีตในพื้นที่ ๑๔ ไร่ แล้วตั้งชื่อเฉพาะโคที่เลี้ยงว่า โคพันธุ์ขี้เพราะว่าเน้นเก็บมูลโคตากแห้งไว้ขายตลอด คัดเลือกโคลูกผสมพื้นเมืองที่เลี้ยงง่ายแข็งแรง ทนต่อโรค เลี้ยงลูกเก่งให้ลูกทุกปีไม่เน้นขุนให้อ้วนขาย มีการสร้างโรงเรือนตามระดับสูงต่ำเพื่อสะดวกในการเก็บมูล มีโรงตากมูลโคอยู่ต่ำมุงด้วยพลาสติกใสทำให้มูลแห้งเร็วไม่เปียกน้ำหน้าฝน มีโคเนื้อลูกผสม จำนวน ๓๐ ตัว การจัดการเลี้ยงทำฟางอัดฟ่อนสะสมไว้หลังเก็บเกี่ยวข้าว ๒๐๐๐ฟ่อนต่อปี ก็มีการริเริ่มให้ฟางลาดหมักน้ำชีวภาพให้วัวกินในโรงเรือนเกือบตลอดวันสลับกับต้นข้าวโพดสดสับที่เก็บฟักแล้ว หรือช่วงที่ฟางและข้าวโพดหมดก็ใช้หยวกกล้วยมาสับลาดน้ำชีวภาพโรยด้วยรำให้โคด้วย จะปล่อยให้โคออกกินหญ้าในแปลงวันละประมาณ ๓ ชั่วโมง ทำให้มีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆในฟาร์มได้อีกจะเห็นได้ว่ามีการใช้ความรู้หลากหลาย การคัดพันธุ์ จัดการทั้งวิธีการเลี้ยงการทำสูตรอาหารต่างๆอย่างดีและบริหารจัดการเวลาอย่างคุ้มค่า นอกจากนี้นายบุญชวน ยังสร้างบ่อหมักแก๊สชีวภาพจากมูลโคที่เลี้ยง แล้วนำมาทำเตาหุงต้ม ทำตะเกียงส่องสว่างและที่กกลูกไก่ กกลูกสุกรได้ด้วย แม้ว่าฟาร์มจะอยู่ห่างชุมชนก็สามารถพึ่งพาปัจจัยผลิตต่างๆในฟาร์มผสมผสานอย่างลงตัว ทำให้ในฟาร์มไม่ต้องพึ่งไฟฟ้าในเวลากลางคืน ประหยัดค่าไฟค่าถ่าน ไม่ต้องเผาฟืนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย

การเลี้ยงควาย ในปี ๒๕๕๑ นายบุญชวนริ่เริ่มอนุรักษ์ควายโดยรวมกลุ่มผู้เลี้ยงควายในตำบลดงมหาวันเพื่อทำความดีถวายในหลวง ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงเพิ่มและร่วมกันกับกลุ่มฝึกสอนการใช้แรงงานควายไถนาร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอนำอุปกรณ์ไถนาแสดงในงานวันพิธีเปิดโครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนาตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จฯพระบรมราชินีนาถ ของจังหวัดเชียงราย ในการนี้นายบุญชวนยังทำเอกสารความรู้ประสบการณ์เรื่องควายเป็นแผ่นพับแจกจ่ายผู้ที่มาเยี่ยมฟาร์มเป็นวิทยาทานด้วย

สำหรับการเลี้ยงควายลุงชวนเน้นเป็นการอนุรักษ์ควายไทยเป็นหลัก ปัจจุบัน 2556มีควาย 10 ตัว
การเลี้ยงไก่ ในช่วงปี ๒๕๔๔ นายบุญชวน มีประสบปัญหาโคที่เลี้ยงถูกขโมยเพราะเลี้ยงอยู่ห่างชุมชนจึงขายวัวออกบางส่วนนำเงินมาลงทุนการเลี้ยงไก่ไข่เสริมจำนวน ๘๐๐ ตัว ใช้ความรู้จากการเป็นอาสาปศุสัตว์ได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามที่ต่างๆที่ได้รับไปเป็นวิทยากรทำให้มีความรู้ความสามารถในการเลี้ยงไก่ การเตรียมอาหารไก่ เป็นอย่างดี ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงไก่ไข่มากจนได้รับรางวัลฟาร์มสาธิตดีเด่นระดับจังหวัดและระดับเขตด้วย แต่ต้องเลิกเลี้ยงจากปัญหาของโรคไข้หวัดนกทำให้ไข่ไม่ได้ขาย แม้จะมีอุปสรรค แต่นายบุญชวนก็ไม่ท้อ ใช้อดทน ปรับเปลี่ยนโรงเรือนเลี้ยงไก่เป็นคอกเลี้ยงสุกรพื้นเมืองและไก่พื้นเมืองเลี้ยงแบบอินทรีย์ ส่วนอุปกรณ์ไก่ไข่ที่เป็นของเก่า ก็ปรับมาเลี้ยงแค่ ๒๕ ตัว เป็นอาหารโปรีตีนในครัวเรือนโดยเลี้ยงบนบ่อปลา เพื่อใช้มูลของไก่ไข่เป็นอาหารปลาด้วย จะเห็นได้ว่านายบุญชวนมีการแสวงหาความรู้แล้วนำมาปรับใช้ในฟาร์มตลอดเวลาตามคติประจำตัวที่ว่า ไม่เป็นน้ำชาล้นถ้วย   พร้อมที่จะรับวิทยาการใหม่ๆสนใจการศึกษาตลอดเวลา
การเลี้ยงสุกร จากการที่ได้อบรมปศุสัตว์อินทรีย์ ทำให้นายบุญชวน สนใจการเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติแต่มีเนื้อที่น้อยจึงปรับเป็นการเลี้ยงสุกรพื้นเมืองจำนวน ๒ ตัว ขังบนขอบบ่อปลา แล้วให้อาหารสูตรธรรมชาติที่ปรับใช้เศษผักผลไม้ในฟาร์มหมักกับน้ำหมักชีวภาพ ไม่มีการเร่งการเจริญเติบโตค่อยเป็นค่อยไป ๑ ปีก็ตกลูก ๒ ครั้งๆละประมาณ ๑๐ ตัว ได้ลูกสุกรพื้นเมืองขาย ๒๐ ตัวๆละ ๑๒๐๐ บาท เป็นรายได้ประจำปีอีกทางหนึ่ง
การเลี้ยงเป็ด ปัจจุบันนายบุญชวนยังเพิ่มการเลี้ยงเป็ดเพื่อกำจัดหอยเชอรี่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ในนาข้าวและขายไข่บ้างตามฤดู
การเลี้ยงม้า มีการเลี้ยงม้าเพื่อผูกให้กินหญ้าตามแนวทางเดินเพราะม้าชอบกินหญ้าสั้นๆติดดิน ลดการใช้แรงงานตัดแต่งหญ้าในสวนผลไม้ด้วย

๒.กิจกรรมผลงานและความสำเร็จ
นายบุญชวน มะลัยโย ประกอบอาชีพหลัก คือการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน โดยได้รับการส่งเสริมจากเกษตรอำเภอให้เข้าร่วมอบรมทั้งเกษตรทฤษฏีใหม่ตามพระราชดำริเพื่อเป็นการสร้างรายได้ฟื้นฟูจากการทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยวที่ทำให้มีหนี้สินจนต้องเข้าโครงการฟื้นฟู นายบุญชวนได้น้อมนำเอาทฤษฏีใหม่มาเริ่มทำ แล้วมีการพัฒนามาอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ มีกิจกรรมทำนา ปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ ข้าวโพดหวานสำหรับส่งโรงงาน ทำนา เลี้ยงโคเนื้อ เลี้ยงสุกร เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา และปลูกไม้ผลอีกหลายชนิด เป็นการประกอบอาชีพการเกษตรแบบผสมผสานบนที่ดิน ๑๔ ไร่ อีกทั้ง ของเหลือใช้จากการประกอบอาชีพ เช่น ต้นข้าวโพด ฟางข้าว หยวกกล้วย ยังนำมาเป็นอาหารของโคเนื้อ ไก่ สุกร ที่เลี้ยง และมูลของสัตว์ เช่น สุกร ไก่ไข่ ยังเป็นอาหารปลาที่เลี้ยงไว้ ซึ่งวัสดุเหลือใช้ทุกอย่างในฟาร์ม สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อลดต้นทุนการผลิต และยังสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว ทั้งมีแนวคิดเกษตรอินทรีย์ ปศุสัตว์อินทรีย์เน้นการไม่สารเคมีเข้ามาในฟาร์ม
นายบุญชวนมีรายได้จากการขายโคกระบือทุกปีประจำ ๔ ถึง๕ ตัว ขายมูลโคเดือนประมาณเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท ขายลูกสุกรพื้นเมือง ปีละ ๒๐ ตัว ๒๔๐๐๐ บาท รวมมีรายได้ประมาณ ๗๐,๐๐๐ – ๑๐๐,๐๐๐ บาท ต่อปี ตามปริมาณการขายโคตัวผู้ แม่โคแก่ที่คัดออก และนอกจากนี้ยังมีรายได้จากการขายผลไม้ พืชผัก ผลไม้ ตลอดจนไข่เป็ด ไข่ไก่ มีความมั่นคงต่ออาชีพ สามารถส่งเสริมบุตรธิดาให้ได้เล่าเรียนอย่างไม่ขัดสนและสามารถสืบทอดอาชีพเป็นมรดกได้ จากความอดทน ขยันตั้งใจจริงฝ่าฟันอุปสรรค ใช้ความรู้ความสามารถ จนได้รับความไว้วางใจและคัดเลือกบุคคลดีเด่นดีเด่นจากหลายหน่วยงาน เช่น
• รางวัลพ่อพ่อดีเด่นปี ๒๕๔๙ ,
• ฟาร์มสาธิตดีเด่นปี ๒๕๔๖,
• เป็นอาสาปศุสัตว์ประจำตำบลและวิทยากรเกษตรกรของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ,
• เป็นประธานศูนย์บริการและถ่านทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลดงมหาวัน,
• หัวหน้ากองร้อยอาสาของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ๒๕๔๕-๒๕๕๐ ,
• ครูบัญชีอาสาของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง,
• ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ยกย่องเป็นเกษตรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ,
• ได้รับการยกย่องจากองค์กรเอกชนว่าเป็นมหาบัณทิตแห่งวิทยาลัยชาวนาไทย จากความรู้ความสามารถหลายอย่าง มีการปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ใช้หลักความมีเหตุมีผลในการ มีความพอประมาณ และมีภูมิคุ้มกัน ตลอดจนนำความรู้ประสบการณ์มาปรับใช้อย่างดี มีความเป็นผู้นำเสียสละไม่เห็นแก่ตัว อัธยาศัยดีมีมนุษยสัมพันธ์ ช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ ด้วยเหตุผลดังกล่าวสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย จึงได้คัดเลือกให้ฟาร์มของนายบุญชวน เป็นศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ จนถึงปัจจุบันและ ในปี ๒๕๕๐ ได้รับเลือกจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงรายให้เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนพอเพียง ของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง และได้วางตนเป็นผู้เสียสละทั้งกำลังกาย กายกำลังใจ ถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนเกษตรกรอย่างดียิ่ง

  • เกษตรกรดีเด่นสาขาการเลี้ยงสัตว์ของสำนักงานปศุสัตว์เขต ๕ ปี ๒๕๕๑
  • ผู้นำเกษตรกรต้นแบบที่นำพระราชดำริมาใช้ในชีวิตของจังหวัดเชียงราย

ส่วนหนึ่งของผู้นำชุมชน เกษตรกรที่เข้ามาเยี่ยมชมศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้
เกษตรกรที่ได้มาร่วมอบรมประสบผลสำเร็จในอาชีพการเกษตรแบบเดียวกัน เช่น
นายสมัย สาวงษา เกษตรกรบ้านป่าเลา ตำบลดงมหาวัน ทำเกษตรผสมผสาน เลี้ยงควาย เลี้ยงเป็ด ทำนาทำสวนผัก มีรายได้ประจำวันวันละ ๒๐๐-๓๐๐ บาท

นายอินทร นัยติ๊บ เกษตรกรบ้านสันไทรงาม ตำบลดงมหาวัน ได้ นำหลักความรู้การเลี้ยงโคของลุงชวนไปปรับใช้กับการเลี้ยงควาย ทำให้มีมูลควายขายเป็นรายได้ประจำเดือนละ ๑๕๐๐ บาท
นายทองแดง นนทภา ที่เลี้ยงวัวแบบเดียวกันกับของลุงบุญชวน เก็บมูลโคใส่สวน ไร่นาไม่เคยต้องเสียเงินชื้อปุ๋ยเคมี ลดรายจ่ายในการปลูกข้าวทำสวนเป็นอย่างดี
นายหมั้น ถาคำ หลังอบรมจากศูนย์เรียนรู้ฯแล้วนำไปปฏิบัติเกษตรผสมผสานในฟาร์มร่วมกันเป็นเครือข่ายปศุสัตว์อินทรีย์ของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง พัฒนาจนได้รับเลือกเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนปี ๒๕๕๒ ของตำบลป่าซาง
และส่วนใหญ่ของเกษตรกรที่เข้าอบรมจะเริ่มหันมาใช้วิถีชีวิตพอเพียง แบบเกษตรอินทรีย์ พึ่งพาตนเอง มีความเป็นอยู่ดีขึ้น สุขภาพก็ดี เป็นเครือข่ายสานฝันการเกษตรปลอดสารเคมี นับเป็นความสำเร็จของศูนย์เรียนรู้ของนายบุญชวน
ดังนั้นจึงนับได้ว่าความสำเร็จที่สำคัญของนายบุญชวน คือการได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนพอเพียง ของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรสำหรับทุกๆคนที่สนใจ โดยนายบุญชวน เป็นวิทยากรเองตลอด
๓. กิจกรรมความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อส่วนรวม
นายบุญชวน มีประสบการณ์ทำงาน เป็นผู้นำและเสียสละเพื่อส่วนรวม รวมทั้งการมีส่วนร่วมในงานของชุมชน สังคมต่าง ๆ มากมายมาตลอด ดังนี้
๑. เข้าร่วมอบรมลูกเสือชาวบ้านรุ่นที่ ๔๖๗/๔ ชร ๑๐๖ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๐ และได้บำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคมด้านความช่วยเหลือตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
๒. ได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๒๒ จนหมดวาระ
๓. เป็นกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน ตั้งแต่วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๓ จนถึงปัจจุบัน
๔. เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ มาจนถึงปัจจุบัน
๕. รวมกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ในหมู่บ้าน ส่งเข้าประกวดหมู่บ้านปศุสัตว์พัฒนา จนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด และชนะเลิศระดับเขต ๕ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗
๖. เป็นเกษตรกรวิทยากรบรรยายการเลี้ยงสัตว์ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบัน
๗. อบรมอาสาพัฒนาปศุสัตว์ประจำตำบล และเป็นประธานอาสาปศุสัตว์ตำบลดงมหาวันตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙
๘. บริจาคโคพันธุ์ให้โครงการไถ่ชีวิตโค กระบือ เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล ๑ ตัว
๙. เป็นกรรมการโรงเรียนบ้านปงเคียน เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๙ ถึงปัจจุบัน
๑๐. ได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาการเลี้ยงสัตว์ จังหวัดเชียงราย ประจำปี ๒๕๔๑
๑๑. ได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาการเลี้ยงสัตว์ ปี ๒๕๔๑ รางวัลที่ ๓ ของสำนักงานปศุสัตว์เขต ๕
๑๒. เป็นวิทยากรเครือข่ายฯลฯ ตามโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดตั้งแต่ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบัน
๑๓. เป็นคณะทำงานประจำศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล ตั้งแต่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒และรับเลือกเป็นประธานในปี ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน
๑๔. เป็นประธานประชาคมประจำหมู่บ้านหมู่ที่ ๑๐ ต. ดงมหาวัน
๑๕.เป็นที่ปรึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลดงมหาวัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๒ ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลดงมหาวัน ที่ ๒/๒๕๔๒
๑๖. เป็นวิทยากรชุมชนการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง ตั้งแต่ วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๓ จนถึงปัจจุบัน
๑๗. ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนของกลุ่มเกษตรกรโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ประจำตำบลดงมหาวัน กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๒
๑๘. ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาเกษตรกรรมผสมผสานปี ๒๕๔๒ รางวัลที่ ๑ ของจังหวัดเชียงราย
๑๙. เป็นวิทยากรโครงการอบรมประชาคมหมู่บ้านเพื่อขยายแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเพื่อหาแนวทางกำจัดปัญหายาเสพติดภายในหมู่บ้าน วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๔
๒๐. เป็นวิทยากรขบวนการประชารัฐ ของจังหวัดเชียงราย
๒๑. เป็นครูบัญชีเกษตรกรอาสา ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน
๒๒. ฟาร์มของนายบุญชวน มะลัยโย ได้รับคัดเลือกเป็นเครือข่ายการเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงปีงบประมาณ ๒๕๕๐-๕๒ ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย เป็นวิทยากรเกษตรกรอบรมเกษตรกรจำนวน 6 รุ่น ๆ ละ 10 คน พัฒนาฟาร์มเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานเกษตรทั่วไปอย่างครบวงจร,เป็นศูนย์เครือข่ายปศุสัตว์อินทรีย์ของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง
๒๓. ได้รับคัดเลือกเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ปี ๒๕๕๑ ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย และเป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วย. จำนวนผลงานดีเด่น (รางวัล / เกียรติบัตร )
๑. ชื่อรางวัล เกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพการเลี้ยงสัตว์ จังหวัดเชียงราย ประจำปี ๒๕๔๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ หน่วยงาน / องค์กรที่มอบให้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย
๒. ชื่อรางวัล เกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพการเลี้ยงสัตว์ ประจำปี ๒๕๔๑ รางวัลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ หน่วยงาน / องค์กรที่มอบให้ สำนักงานปศุสัตว์เขตุ ๕
๓. ชื่อรางวัล เกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาผสมผสาน ปี ๒๕๔๒ รางวัลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ หน่วยงาน / องค์กรที่มอบให้ สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย
๔. ชื่อรางวัล เกษตรกรดีเด่น สาขาเกษตรกรรมผสมผสาน ปี ๒๕๔๓ รางวัลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ หน่วยงาน / องค์กรที่มอบให้ สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย
๕. ชื่อรางวัล ฟาร์มสาธิตการเลี้ยงสัตว์ดีเด่น ประจำปี ๒๕๔๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ . หน่วยงาน / องค์กรที่มอบให้ สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดเชียงราย .
๖. ชื่อรางวัล พ่อดีเด่น ประจำปี 2549 เมื่อ พ.ศ. 2549 . หน่วยงาน / องค์กรที่มอบให้ ที่ว่าการกิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย .
๓.กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลผลิตที่ได้จากการประกอบอาชีพการเกษตรแบบผสมผสาน ที่ขุนแผนฟาร์มจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุดพึ่งตนเองให้มากที่สุด เช่น มูลจากสัตว์ ก็จะทำเป็นปุ๋ยสำหรับไม้ผลที่ปลูกในฟาร์มทำบ่อหมักแก๊สชีวภาพจากมูลโคนำแก๊สมาใช้ในฟาร์ม ผลไม้ที่เหลือจากการขายหรือกิน ก็จะนำมาทำน้ำหมักชีวภาพ ต้นหยวกกล้วยนำมาสับผสมรำและน้ำชีวภาพทำอาหารของโค สุกร และไก่ รณรงค์ไม่เผาขยะในฟาร์มเศษของกิ่งไม้จะนำมากองรวมกันรากน้ำหมักชีวภาพ เศษใบไม้ทำปุ๋ยหมัก กิ่งไม้ที่ใหญ่ย่อยยากก็นำมาใส่เตาถ่าน ๒๐๐ ลิตร ผลิตถ่านคุณภาพใช้ ควันที่เกิดก็ทำท่อพ่นควันไล่แมลงในโรงเรือนโค และเก็บน้ำส้มควันไม้ไว้ใช้ประโยชน์ต่างๆ แจกผู้มาเยี่ยมฟาร์มให้ไปใช้ ทำนาปลอดสารเคมีหลีกเลี่ยงการนำสารเคมีทุกชนิดเข้าฟาร์ม ใช้สมุนไพรเช่นตะไร้หอม เปลือกยูคา สะเดากำจัด ไล่แมลง ทำสมุนไพรรักษาสัตว์ใช้เองตามภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ถ่ายทอดกันมาและที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์
เป็นสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ และร่วมกับเครือข่ายสร้างป่าชุมชนของหมู่บ้าน จัดทำเอกสารแผ่นพับสานฝันการลดใช้สารเคมีในการเกษตรเผยแพร่ให้เพื่อนบ้านผู้สนใจ
ถ่ายภาพร่วมกันกับคณะของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด
การเลี้ยงเลี้ยงไก่ไข่แบบพอเพียงไม่ต้องทรมานบนกรงตับ มีไข่ไว้กินและขายเพื่อนบ้านในราคาถูกได้  การเลี้ยงปลาทั้งในกระชังและแบบปล่อยมีการทำฟางแช่น้ำสร้างอาหารปลา
ออกช่วยเหลือเครือข่ายให้ความรู้แนะนำแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ
 แนะนำนายอนันต์ เขตบุญไสย


แนะนำนายสำรอง  ถูนาแก้ว


แนะนำ นายไสว พิมพ์ชาลี


เยี่ยมแนะนำนายสมุทร นามโคตร

นาข้าวไร้สารเคมี